ข่อยหยอง
"ข่อยหยอง" ถ่ายโดย นางสาวสิรินทิพย์
บุญน้อม
"ข่อยหยอง" ถ่ายโดย นางสาวสิรินทิพย์
บุญน้อม
1.ชื่อสามัญ : ข่อยหยอง
2.ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rinorea virgata (Thwaites) Kuntze
3.ชื่ออื่นๆ : ข่อยหิน เฮาสะท้อน เฮาะสะต้อน (เชียงใหม่), หัสสะท้อน
(เชียงราย), ข่อยนั่ง (ลำปาง), ชาป่า
(จันทบุรี), ข่อยป่า (ตราด), คันทรง
คันเพชร (สุราษฎร์ธานี), ข่อยหยอง
ผักกรูด (ประจวบคีรีขันธ์), หัสสะท้อน
(ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), กะชึ่ม, ข่อยเตี้ย,
ข่อยหนาม
4.วงศ์ : MORACEAE
5.ลักษณะ : จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาปนสี
น้ำตาลอ่อน หรือเป็นสีเทาค่อนข้างขาว มีหนามแหลมยาวออกตามลำต้นและกิ่งก้าน
ไม่มียาง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปมและเป็นร่องเล็กน้อย ใบเดี่ยวออกสลับกัน
ใบกลม ส่วนริมขอบใบจักไม่เรียบและมีหนามแหลม ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก
มีสีขาวและเหลือง ผลกลม ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีขาวหรือสีเทา
เปลือกด้านในมียางสีขาว ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
6.สรรพคุณ : เนื้อไม้และรากใช้เป็นยารักษาโรคกษัย
ไตพิการ ใช้ปรุงเป็นยาขับเมือกในลำไส้ ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ
ใบข่อยหยองมีรสเมาเฝื่อน
ใช้ตำกับข้าวสารคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาถอนพิษยาเบื่อยาเมา หรืออาหารแสลง
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%87/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น