ข้อมูลเจตพังคี

เจตพังคี

"เจตพังคี" ถ่ายโดย นางสาวสิรินทิพย์  บุญน้อม

"เจตพังคี" ถ่ายโดย นางสาวสิรินทิพย์  บุญน้อม

1.ชื่อสามัญ : เจตพังคี

2.ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cladogynos orientalis Zipp. ex Span.
3.ชื่ออื่นๆ : ตองตาพราน (สระบุรี), สมี (ประจวบคีรีขันธ์), มนเขา (สุราษฎร์ธานี), ตะเกีย เปล้าเงิน หนาดตะกั่ว (นครราชสีมา), ใบหลังขาว (ภาคกลาง), เปล้าน้ำเงิน (ภาคใต้), พังคี, พังคีใหญ่, ปานดง, ปานดงเหลือง, เป้าเงิน, สมีหนาดตะกั่ว
4.วงศ์ : EUPHORBIACEAE
5.ลักษณะ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 20-40 เซนติเมตร มีรากขนาดใหญ่ใต้ดิน เปลือกรากหลุดออกง่าย มีกลิ่นหอม ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขน ใบหนา แผ่นใบสากคาย ก้านใบยาว 2-3 ซม. ก้านใบและดอกช่อมีขนปกคลุมทั้งต้น ดอกออกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อดอกเดียวกัน กลีบดอกสีขาว กลีบดอก และกลีบเลี้ยง อย่างละ 5 กลีบ ลักษณะเป็นเส้นแบบกลมเรียว ดอกเพศผู้ขนาด 8 มม. ขอบกลีบมีขนนุ่ม เกสรผู้จำนวน 15-25 อัน เกสรเพศเมีย 3 อัน ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ แต่กลีบดอกจะสั้นกว่า ก้านชูเกสรยาวเรียว ปลายแยกเป็น 2 แฉก รังไข่มีขนปกคลุมแน่น ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. มี 3 พู ปกคลุมด้วยขนสีสนิมเหล็กหนาแน่น เมล็ดกลมแกมรี กว้าง 3-4 มม. ยาว 7-8 มม.
6.สรรพคุณ : ใช้ ราก ซึ่งมีรสเผ็ด ขื่น เฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง หรือใช้ภายนอกโดยฝนกับน้ำปูนใส ผสมกับมหาหิงคุ์และการบูรทาท้องเด็กอ่อน ทำให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง ราก ผสมกับรากส่องฟ้าดง ต้มน้ำดื่ม แก้จุกเสียด แก้ท้องอืด ผสมกับสมุนไพรอื่นอีก 3-4 ชนิด ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=36



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น